
วิเคราะห์เพลง Clair de lune (โครงสร้าง)
โครงสร้างของเพลงจะเริ่มจากธีม A (bar. 1-26) ดำเนินไปยังธีม B (bar. 27-50) และกลับมาธีม A อีกครั้งหนึ่ง (bar. 51-65) นอกจากนี้ยังมีการใส่ท่อน Coda หรือท่อนก่อนจบเพลงเข้ามาเพื่อให้เพลงมีสีสันมากขึ้น (bar. 66-73)
ท่อนแรก เริ่มต้นเพลงด้วยธีม A ในคีย์ D-flat major ซึ่งเป็นธีมหลักของเพลงด้วย motif มีความยาวของประโยคเพลงเท่ากับ 4 ห้อง ทั้งนี้ motif หลักจะถูกนำมาพัฒนาต่อในห้องที่ 15-26 โดยจะเห็นได้ใน motif ต่อมา ช่วงนี้มีการตัดความยาวของประโยคให้สั้นลงเป็น 1-2 ห้อง โดย Debussy ได้เพิ่มเสียงประสานให้หนาขึ้นในแต่ละ motif เพื่อขยายทำนองเพลงเข้าสู่ธีมใหม่
สำหรับท่อนนี้ มีการใช้ progression และ chord ที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนคลาสสิคเดิมมากนัก เริ่มต้นเพลงที่ ห้องที่ 1 ด้วยคอร์ด I(6) ซึ่งเป็น tonic เสียงที่นุ่มนวล ดำเนินไปหา dominant ในประโยคสั้นๆ แล้วเข้าสู่ subdominant ช่วงใหญ่ (bar 15-24) (คอร์ด ii, IV,Vi สลับกันบ้าง บ้างมีแทรก dominant ) ในภาพรวม แล้วสิ้นสุดที่คอร์ด V7 ซึ่งเป็น dominant ด้วย root position ที่ให้เสียงชัดเจน ในห้องที่ 26
เทคนิคและเสียงประสานที่ใช้ท่อนนี้ ได้แก่
-
มีการใช้เสียงประสานคู่ 3,6,8 เพื่อเพิ่มความหนาให้กับทำนองหลัก
-
มีการใช้ dissonance chord อ่อนๆ เช่น minor 7, major 7, major 9, add 9 เพื่อความนุ่มนวลและไม่ชัดเจน
-
ใช้ chord ขนาดใหญ่ที่มีโน้ต 4 ตัว
-
ใช้ chord ที่ไม่ใช่ root position และ จัดเรียง bass line ให้มีทิศทางที่สวยงาม เช่น เรียงตัวลงเป็น scale, chromatic note
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ต่อมาเพลงจะดำเนินเข้าธีม B ซึ่งเป็นช่วงกลางเพลง โดยมี motif b เป็นหลัก ทั้งนี้ motif จะมีการพัฒนาบ้างในแต่ละ section โดย ธีม B มีทั้งหมด 3 ส่วน ด้วยกัน ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 คือ ห้องที่ 27-36 ยังอยู่ในคีย์ D-flat major ทำนองในช่วงนี้จะเริ่มด้วย tonic (คอร์ด I) และทำการขยาย tonic ให้มีความพิเศษโดยเพิ่ม คอร์ด ♭III (flat III) เข้ามาแทรก (bar 27-28) และยังมีการใช้ progression ที่น่าสนใจในห้องที่ 31-32 โดยการใช้คอร์ด V7 → IV → iii ซึ่งถือว่าเป็นแนวคิดที่ต่างไป
จากแบบคลาสสิคดั้งเดิม ภาพรวมของท่อนนี้คือการขยาย tonic ให้สวยงาม แม้มีการแทรก subdominant และ dominant บ้าง แต่ทำนองโดยรวมคือการบรรยาย tonic
ส่วนที่ 2 คือ ห้องที่ 37-41 ในท่อนนี้จะมีการเปลี่ยนคีย์ หรือ modulation ไปหาคีย์ c# minor มีการพัฒนาต่างไปจากเดิมเล็กน้อยในตอนแรก ทำนองในท่อนนี้จะเริ่มจาก tonic (คอร์ด i) ดำเนินไปหา subdominant ในห้องที่ 37-38 และดำเนินไปด้วย subdominant ในภาพรวม (ห้องที่39-42)
ส่วนที่ 3 คือ ห้องที่ 43-50 ซึ่งกลับมาอยู่ในคีย์ D-flat major ท่อนนี้จะถือเป็นท่อนขยาย dominant ทั้งหมด
Debussy นั้นทำการเปลี่ยนคีย์ได้สวยงาม เนื่องจาก dominant ของคีย์ c# minor (G#) คือคอร์ดเดียวกันกับ dominant ในคีย์ D-flat major (A-flat)
เทคนิคและเสียงประสานที่ใช้ท่อนนี้ ได้แก่
-
มีการใช้ dissonance chord อ่อนๆ เช่น minor 7, major 7, major 9, add 9
-
ใช้ bass line ที่ไม่ใช่ root position เพื่อความนุ่ม
-
มีคอร์ดพิเศษ เช่น ♭III, ♭VII, Aug
-
Wide rage arpeggio
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในตอนท้าย ธีม A จะกลับเข้ามา ห้องที่ 51-65 แต่มีการดัดแปลงให้แตกต่างจากเดิมคือทำนองหลักจะยก octave และ bass line จะอยู่ในรูป arpeggio นอกจากนี้ Debussy ยังเพิ่มความน่าสนใจโดยการนำทำนองเดิมกลับมาในรูปของคอร์ด iii ( F minor) ไม่ใช่คอร์ด I (D-flat major) ภาพรวมของธีม A ครั้งนี้ คือ tonic → (subdominant ) → dominant ของ 4 ประโยคเพลงเรียงกัน
สำหรับท่อน Coda คือท่อนที่นำ tonic มาขยายทำนองให้ยาวขึ้นเป็นเป็นการย้ำก่อนจบเพลง ดังห้องที่ 66-73 ในท่อนนี้จะขยาย tonic ด้วยคอร์ด 3 แบบ คือ I, iii, ♭III