top of page

อิทธิพลของทัศนศิลป์ที่มีต่อการประพันธ์เพลงของ Debussy


1. ผลการศึกษาเพลง Nuages (The first movement from Nocturnes)

เกี่ยวกับบทเพลง : Nuages เป็นบทเพลงท่อนแรกของเพลงชุด Nocturnes ซึ่ง Debussy ได้ประพันธ์ขึ้นสำหรับวงออเคสตร้า โดยได้แรงบันดาลใจในประพันธ์มาจากภาพวาดชุด Nocturne ของ J. Whistler Debussy ได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับเพลงนี้ในสูจิบัตรของการแสดงครั้งแรก ว่า Nuages (ภาษาฝรั่งเศสมีความหมายว่า กลุ่มก้อนเมฆ) เป็นบทเพลงที่แสดงมุมมองของท้องฟ้าที่มีกลุ่มก้อนเมฆเคลื่อนไหว โดยก้อนเมฆเหล่านั้นจะค่อยๆเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ รวมกลุ่มอย่างเคร่งขรึมและค่อยๆจางไป ทำให้เกิดเฉดสีของแสงในท้องฟ้าเป็นสีเทาแกมขาว ท่อนนี้เป็นท่อนที่มีจังหวะช้า เรียบง่าย แต่มีการใช้เสียงประสานและทำนองที่มีความหลากหลายและน่าสนใจ
 

เกี่ยวกับภาพวาด : Nocturne ชุดผลงานภาพวาดอันโด่งดังของ J. Whistler ประกอบด้วย 10 ภาพ ที่ได้บันทึกบรรยากาศและทิวทัศน์ยามค่ำคืนตามสถานที่ต่างๆ เช่น อังกฤษ, อิตาลี โดย whistler ได้ตั้งชื่อภาพจากการใช้สีของเขา เช่น Nocturne in Blue and Silver จะแสดงถึงบรรยากาศกลางคืนโดยเน้นโทนสีฟ้ากับเทาเป็นหลัก Nocturne in Blue and Gold จะเน้นสีฟ้าและโทนสีทอง  ภาพชุด Nocturne นี้มีสีสันที่นุ่มนวล มีความเลือนราง มีเส้นขอบและรายละเอียดที่ไม่ชัด มีการใช้สีที่แตกต่างให้กลมกลืนเป็นอารมณ์เดียวกัน แทรกด้วยการแต่งแต้มสีประกายทองเล็กในบางจุดที่ต้องการแสดงแสงสีที่มีความพิเศษ เช่น ในภาพ Nocturne in Black and Gold กลุ่มของจุดสีทองแทนด้วยแสงจากพลุ ที่เขาได้เก็บบรรยากาศจากการจุดพลุเฉลิมฉลองที่ London’s Cremorne Garden เป็นต้น ภาพชุดนี้แสดงบรรยากาศและแสงเงาของเวลาในตอนเย็นและกลางคืนได้เป็นอย่างดี
 

บทวิเคราะห์

ดิฉันได้ทำการวิเคราะห์บทเพลงเชิงทฤษฎี โดยวิเคราะห์บทเพลงนี้จาก score สำหรับเปียโน เนื่องจากช่วยให้เปรียบเทียบเทคนิคการเล่นและนำวิธีการตีความไปปรับใช้กับการเล่นเปียโนได้ ดิฉันเลือกวิเคราะห์ score เพลง Nuages for two pianos ที่ได้ทำการเรียบเรียงขึ้นใหม่โดย M. Ravel

 

nuage table.PNG
whitsler 5.jpg

Nocturne in Blue and Silver-Chelsea

whitsler 4.jfif

Nocturne in Black and Gold -The                                      Falling Rocket

เพลงนี้มีโครงสร้างแบบ ternary form (ABA) เสริมด้วยท่อน coda (ท่อนปิดท้าย) โดยทั้งเพลงจะมีทำนองอยู่ในรูปแบบคอร์ดเกือบทั้งหมด โดย Intro และธีมหลักของเพลงอยู่ในคีย์ B minor จากนั้นจะเปลี่ยนทำนองใหม่ไปคีย์ D# minor ในช่วงกลางเพลง แล้วกลับมาธีมหลักของเพลงในคีย์ B minor อีกครั้ง อัตราจังหวะเพลงเท่ากับ 4/4

สำหรับเทคนิคการประพันธ์ที่มีความเชื่อมโยงกับแนวคิดของภาพวาด มีดังต่อไปนี้

table 1.PNG

์Nocturne in Blue and Silver-Chelsea

table 2.PNG
poisson dor 2.jpg

2. ผลการศึกษาเพลง Possions d’or

เกี่ยวกับบทเพลง : Possions d’or เป็นบทเพลงบรรเลงเดี่ยวเปียโน จากผลงานชุด Image no. 2 L.111 ในภาษาฝรั่งเศสมีความหมายว่าปลาทอง Debussy ได้แรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลงนี้จากภาพวาดสลักลายญี่ปุ่นรูปปลาทองซึ่งเป็นของสะสะมส่วนตัวของเขาเอง เขาได้ถ่ายทอดลักษณะการเคลื่อนไหวของปลาที่ว่ายน้ำอย่างรวดเร็ว ร่าเริง และมีความหยอกล้อ รวมทั้งความงดงามของปลาทองระหว่างว่ายน้ำด้วย

เกี่ยวกับภาพวาด : ภาพนี้เป็นภาพวาดสลักลายเคลือบเงาของญี่ปุ่น ใช้วิธีการวาดแบบโบราณบนแผ่นไม้ เคลือบเงาด้วยแลคเกอร์สีดำ วาดตกแต่งลวดลายด้วยผงสีทองหรือสีเงิน (maki-e) แล้วสลักให้เกิดมิติในบางจุด ภาพนี้แสดงปลาทองสองตัวกำลังว่ายน้ำ โดยมีหนึ่งตัวอยู่ใกล้ผิวน้ำ อีกตัวอยู่ใต้น้ำ โดยใช้สีทองเพียงสีเดียววาดภาพให้เกิดแสงเงา ไม่มีบันทึกแน่ชัดว่า Debussy ได้ภาพนี้มาอย่างไร แต่มีบันทึกว่าภาพนี้เป็นหนึ่งในของสะสมที่เขาชื่นชอบมาก

บทวิเคราะห์

 

poissons d'or table.PNG

เพลงนี้มีโครงสร้างแบบ ternary form (ABA) เสริมด้วยท่อน cadenza เล็กน้อยในตอนท้าย มีทำนองและเสียงประสานหลากหลายรูปแบบ มีอัตราจังหวะ 3/4  ที่มีความเป็นอิสระมากโดยมีทั้งช่วงช้าและรวดเร็ว เกือบทั้งหมด โดยธีมหลักของเพลงอยู่ในคีย์ F# major จากนั้นจะเปลี่ยนทำนองใหม่ไปในคีย์ที่หลากหลายในช่วงกลางเพลง แล้วกลับมาธีมหลักของเพลงในคีย์ F# major อีกครั้ง

 

สำหรับเทคนิคการประพันธ์ที่มีความเชื่อมโยงกับแนวคิดของภาพวาด มีดังต่อไปนี้

table 1.PNG
table 2.PNG
table 3.PNG

               จากกการศึกษาทั้งสองบทเพลงและภาพวาดที่เกี่ยวข้อง สามารถอธิบายได้ว่างานทัศนศิลป์นั้นแสดงให้เราเห็นถึงวิธีการจัดวาง การใช้สีและแสงเงา (arrangement in colors and light) และจากการวิเคราะห์บทเพลงแสดงให้เห็นว่า Debussy ได้มีการนำแนวคิดเรื่องของการใช้สีและการสร้างแสงเงาไปใช้กับการประพันธ์เพลงในเรื่องของการสร้างสัมผัส สร้างบรรยากาศและแสดงอารมณ์ของ
แต่ละห้วงเวลา โดยสรุปแล้ว งานทัศนศิลป์ได้ส่งอิทธิพลต่อแนวคิดของ Debussy ในเรื่องของแนวคิดและมุมมองที่เขามีต่อดนตรี โดย Debussy มองว่าดนตรีนั้นไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบหรือ pattern ทางเสียง แต่ดนตรีเป็นสิ่งที่สามารถนำมาซึ่งบรรยากาศ เหตุการณ์ และ
สื่อถึงสัมผัสต่างๆได้ ดนตรีสามารถเป็นความรู้สึกแบบต่างๆได้ด้วยตัวของมันเองและสามารถทำงานได้ในลักษณะเดียวกับที่ภาพวาดทำ (ในเรื่องของการสร้างอารมณ์และความคิดบางอย่างให้กับผู้คน) มุมมองเช่นนี้ทำให้ Debussy ประพันธ์เพลงอย่างอิสระ คิดนอกกรอบและไม่ทำตามแบบแผนดนตรีคลาสสิคเดิม รวมทั้งทำให้เขาทดลองและค้นคว้าวิธีการประพันธ์แบบใหม่ๆเพื่อสร้างเสียงและ effect แบบต่างๆ

เทคนิคการประพันธ์ที่ Debussy นิยมใช้
- ใช้เสียงประสานที่หลากหาย เช่น  soft consonance chords (major7th, 9th ,minor6th), borrow chords, triton
- ใช้หวะที่มีความซับซ้อน  
-  ใช้ scale ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น whole tone, pentatonic scale
-  ใช้ articulation หลากหลาย รวมทั้ง ornament แบบต่างๆ ในหนึ่งเพลง เช่น  arpeggio, tremolo, trill
-  ให้ความสำคัญกับลักษณะของเสียง โดยใสใส่กับชนิดของเครื่องดนตรีและการวางโครงสร้างเสียงประสาน
- ใช้ pedal เพื่อสร้างความกังวานของเสียง

© 2023 by EK. Proudly created with Wix.com

  • w-facebook
  • Twitter Clean
  • w-flickr
bottom of page