top of page

               
การประยุกต์แนวคิดที่ได้รับจากงานทัศนศิลป์ในการตีความบทเพลง Clair de lune


                สำหรับการประยุกต์ใช้แนวคิดจากภาพวาดในการตีความและถ่ายทอดเพลงชุด Suite Bergamasque นั้น ดิฉันได้เลือกนำเสนอการตีความกับบทเพลง Clair de lune  เนื่องจากเป็นบทเพลงที่บรรยายถึงความสวยงามของพระจันทร์และบรรยากาศตอนกลางคืน โดยเพลงนี้มีความเหมาะสมที่นำจะแนวคิดเรื่องของการสร้างแสงเงามาประยุกต์ใช้กับการถ่ายทอดอารมณ์และลักษณะของบทเพลง

                เนื่องจากเพลงนี้เป็นผลงานช่วงต้นๆของ Debussy จึงยังคงมีลักษณะของความเป็นเพลงยุค Romantic อยู่มาก ยังไม่มีความร่วมสมัยและมีลักษณะใหม่ๆเหมือนเพลงอื่นๆของเขา โดยเพลงนี้เป็นมีความเป็นทำนอง (tonal) อยู่ชัดเจน มีโครงสร้างแบบ Ternary form และมีการแบ่งธีมทำนองหลักออกเป็น 2 แบบชัดเจนด้วยเช่นกัน

 

clair de lune table.PNG

Theme A =


Theme B =

clair de lune 5 copy.png
clair de lune 1 copy.png

เพลงนี้เริ่มด้วยธีมหลักในคีย์ D flat major ดำเนินไปเรื่อยๆแล้วเปลี่ยนรูปแบบทำนองมาอยู่ในธีม B ช่วงกลางเพลงแต่อยู่ในคีย์เดิมแล้วจึงย้ายไปคีย์ c sharp minor ซึ่งเป็นคีย์ใหม่ จากนั้นย้ายกลับมาคีย์ D flat major เช่นเดิม แล้วนำทำนองของธีมหลักกลับมาอีกครั้ง

สามารถอ่านบทวิเคราะห์เพลงเพิ่มเติมได้  ที่นี่

การตีความบทเพลง

แบ่งตามธีม A และ ธีม B

Capture 1.PNG
Capture 2.PNG

**เพลงนี้มีการเปลี่ยนคีย์อย่างสวยงามจากคีย์ D flat major ไปยังคีย์ C sharp minor เนื่องจากทั้งสองคีย์มีโน้ต tonic ตัวเดียวกัน จึงมีคอร์ด dominant คอร์ดเดียวกัน ทำนองจึงดำเนินไปอย่างมีความเป็นธรรมชาติ
เราจึงไม่รู้สึกถึงความตัดกันของเสียง**

Capture 3.PNG
Capture 4.PNG

สามารถรับชมวิดีโอและคำอธิบายพร้อมฟังเสียงเพลงได้ด้านล่าง

แนะนำ version ที่ชื่นชอบ คือ การตีความของนักเปียโนชาวเกาหลี Cho seong jin  เป็นนักเปียโนที่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดและความละเมียดละไมของบทเพลงนี้ได้เป็นอย่างดี ถ่ายทอดอารมณ์ครบถ้วนทั้งความสงบ ความอ่อนหวาน และความมีชีวิต นอกจากนี้ ยังเล่นได้อย่างอิสระมาก โดยไม่จำเป็นต้องเข้มงวดกับจังหวะมากจนเกินไป ทำให้เราดื่มด่ำกับทำนองได้เต็มที่
 

© 2023 by EK. Proudly created with Wix.com

  • w-facebook
  • Twitter Clean
  • w-flickr
bottom of page